หน่วยแพทย์อาสาเฉพาะทางร่วมใจเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสปีที่ 4 แห่งพระราชพิธีบรมราชาภิเษก


มูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์ จัดหน่วยแพทย์อาสาเฉพาะทางร่วมใจเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสปีที่ 4 แห่งพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2565 ที่บริเวณองค์พระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.เกษม วัฒนชัย ในฐานะประธานมูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ศาสตราจารย์เกียรติคุณ พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ นายกแพทยสภา นายสุรศักดิ์ เจริญศิริโชติ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม พล.อ.ต.นพ.อิทธพร คณะเจริญ เลขาธิการมูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์ และผู้อำนวยการหลักสูตร ปธพ.พร้อมคณะ เปิดโครงการหน่วยแพทย์อาสาเฉพาะทางร่วมใจเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสปีที่ 4 แห่งพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
จัดโดยมูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข แพทยสภา นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลทางการแพทย์สำหรับผู้บริหารระดับสูงรุ่นที่ 9 (ปธพ.9) และจังหวัดนครปฐม โดยมีกิจกรรมแพทย์อาสาถวายการตรวจสุขภาพพระภิกษุสงฆ์ เช่น คลินิกมวลกาย คลินิกตรวจตา บริการฉีดวัคซีน เป็นต้น และประกิบพิธีสงฆ์ถวายเครื่องไทยธรรมแด่พระภิกษุสงฆ์ ณ ศาลากองอำนวยการองค์พระปฐมเจดีย์
จากนั้น ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.เกษม วัฒนชัย ในฐานะประธานมูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์ พร้อมคณะ เดินทางไปยังโรงพยาบาลนครปฐม ตรวจเยี่ยมกิจกรรมแพทย์อาสาสำหรับประชาชนทั่วไป พร้อมมอบอุปกรณ์การแพทย์แก่คนพิการ ได้แก่ รถเข็นวีลแชร์ ให้กับผู้ป่วย ผู้พิการอีกด้วย
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.เกษม วัฒนชัย และนายอนุทิน ชาญวีรกูล กล่าวว่า โครงการหน่วยแพทย์อาสาเฉพาะทาง ฯ เป็นงานจิตอาสาที่เกิดจากการร่วมแรงร่วมใจของผู้บริหารแพทย์จากมหาวิทยาลัย กระทรวงสาธารณสุข หน่วยงานแพทย์ 4 เหล่าทัพ กรุงเทพมหานครและท้องถิ่น โรงพยาบาลเอกชน และหน่วยราชการอื่นๆ ออกให้บริการตรวจรักษาประชาชนในพื้นที่จังหวัดนครปฐมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ให้บริการล่วงหน้าตั้งแต่ต้นเดือนเมษายน 2565 โดยมีแพทย์อาสาเฉพาะทาง และจิตอาสาจากสถาบันการแพทย์ต่างๆ และนักศึกษา ปธพ.ทุกรุ่น 200 คน ให้บริการตรวจ รักษา-ผ่าตัด เพื่อลดระยะเวลารอคอยในการรักษาโรคเฉพาะทาง โดยสรุปยอดการตรวจรักษาประชาชนในโครงการฯ ปีนี้ รวมทั้งสิ้นกว่า 1,000 คน
สำหรับการให้บริการมีคลินิกแพทย์เฉพาะทาง 14 คลินิก ประกอบด้วย คลินิกตรวจสุขภาพพระภิกษุสงฆ์ คลินิกฝึกอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (CPR) คลินิกโรคหัวใจและหลอดเลือด คลินิกมะเร็งเต้านม คลินิกกระดูกและข้อ คลินิกรับบริจาคโลหิต คลินิกโรคระบบทางเดินปัสสาวะ คลินิกผิวหนังและ LASER คลินิกจักษุ คลินิกทันตกรรม คลินิกผ่าตัดหู คลินิกฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ คลินิกวีลแชร์ คลินิกสัตวแพทย์ คลินิกกัญชา และ คลินิกกฎหมาย
การดำเนินโครงการได้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโควิด-19 อย่างเคร่งครัด และในครั้งต่อไปจะจัดให้บริการประชาชนที่โรงพยาบาลราชบุรี ระหว่างวันที่ 25-26 มิถุนายน 2565